วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

1.หลักการและขั้นตอนในการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร

                     สื่อและเทคโนโลยีที่ใช้ในการศึกษาและวิจัยครั้งนี้ เป็นการออกกำลังกายที่นำเอาวัฒนธรรม ไทยและเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทยและศิลปะมวยไทยมาผสมผสานกับการออกกำลังกาย และพัฒนามาเป็นทางเลือกหนึ่งของการ ออกกำลังกายได้ทุกเพศทุกวัย ผู้วิจัยจึงพัฒนารูปแบบของการออกกำลังกายที่ผสมผสานระหว่างการเต้นแอโรบิกกับศิลปะมวยไทยโดยการสร้างรูปแบบเพื่อสะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้ในการออกกำลังกายแล้วยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยให้ดำรงสืบไป ในนาม แอโรบิกมวยไทย” (Muay Thai aerobic)ในการออกกำลังการเป็น 3  รูปแบบในความหนักของงานที่แตกต่างกัน

2 มีหลักการประเมินสู่เทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร
                          
              การประเมินโปรแกรมการออกกำลังกายจะต้องทราบถึงระดับของสมรรถภาพของผู้ฝึกควรเลือกฝึกการเต้นแอโรบิกตามโปรแกรมที่เหมาะสมกับสมรรถภาพทางกาย โดยเลือกฝึกที่ความหนักของงานน้อยก่อน และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อร่างกายมีความแข็งแรงมากขึ้น การเต้นแอโรบิกมวยไทยที่เป็นท่าชุด เป็นท่าที่ง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถนำไปฝึกฝนได้ด้วยตนเอง และผลจากการฝึกนี้ทำให้ผู้ฝึกเกิดทักษะทางมวยไทยด้วย

3. ผลการนำเอาสื่อและเทคโนโลยีการศึกษามาใช้อย่างไร

                      จากการศึกษาวิจัย  ผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า เอฟ” (F-test) นำข้อมูลหลังการทดลองทั้ง 3 กลุ่มมาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way analysis of variance with repeated measures) ของค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม และเปรียบเทียบความแปรปรวนแบบทางเดียวระหว่างกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกมวยไทย เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีของแอลเอสดี (LSD) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมการเต้นแอโรบิกมวยไทย ทั้ง 3 โปรแกรมที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน (55-65%,66-76%และ76-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรอง) สามารถพัฒนาให้เป็นการเต้นแอโรบิกที่ทำให้เกิดการใช้พลังงานและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดได้ ซึ่งโปรแกรมการเต้นแอโรบิกมวยไทย ทั้ง 3 โปรแกรมมีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 หมายความว่ามีค่าความตรงดีมาก และมีค่าความเชื่อมั่นจากการทดสอบโปรแกรมการเต้นแอโรบิกมวยไทย ทั้ง 3 โปรแกรมที่มีระยะห่างกัน 1 สัปดาห์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกมวยไทยทั้ง 3 โปรแกรม หลังการทดลอง 2 สัปดาห์ หลังการทดลอง 7 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ มีการพัฒนาการใช้พลังงาน 50 นาที และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 7 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกมวยไทยทั้ง 3 โปรแกรม หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบการใช้พลังงาน 50 นาที ระหว่างกลุ่มที่มีความหนักของงานระหว่าง 55-65% กับ 66-75% และ 55-65% กับ 76-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนความหนักของงานระหว่าง 66-75% กับ 76-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรองมีการใช้พลังงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดทุกกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การฝึกเต้นแอโรบิกมวยไทย ทั้ง 3 โปรแกรมที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มการใช้พลังงานและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดได้ ควรเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับสมรรถภาพของร่างกาย อย่างไรก็ตามการเต้นแอโรบิกมวยไทยที่มีความหนักของงานระหว่าง 66-75% ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรอง สามารถเพิ่มการใช้พลังงานมากกว่าจากสัปดาห์ที่ 2 ถึงสิ้นสุดการทดลอง 12 สัปดาห์ และหากต้องการเพิ่มสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดให้มีประสิทธิผลสูงสุด ควรเลือกโปรแกรมที่มีความหนักของงานระหว่าง 76-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรอง

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สรุปงานวิจัยปริญญาเอก

เรื่อง    การพัฒนาโปรแกรมการแต้นแอโรบิกมวยไทยที่ทำให้เกิดการใช้พลังงานและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด

ชื่อผู้วิจัย  นางสุดา  กาญจนะวณิชย์  รหัสประจำตัวนิสิต  4684655627

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

      1.เพื่อพัฒนาโปรแกรมการแต้นแอโรบิกมวยไทยที่ทำให้เกิดการใช้พลังงานและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด
       2.เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการใช้พลังงานและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดภายในโปรแกรมการเต้นแอโรบิกมวยไทยที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน 3 โปรแกรม
       3.เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้พลังงานและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดของโปรแกรมการเต้นแอโรบิกมวยไทยที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน 3 โปรแกรม

สมมุติฐานการวิจัย

      1.การเต้นแอโรบิกมวยไทยทั้ง 3 โปรแกรม ที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน สามารถพัฒนาการใช้พลังงานและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้น
      2.การเต้นแอโรบิกมวยไทยทั้ง 3 โปรแกรม ที่มีความหนักของงานแตกต่างกันมีผลต่อการใช้พลังงานและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดแตกต่างกัน

ขอบเขตการวิจัย
  
       1.ศึกษาและพัฒนาโปรแกรมการเต้นแอโรบิกมวยไทยแบบท่าชุด 20 ท่า ชุดๆละ
ละ 32 จังหวะ โดยกำหนดให้เต้นติดต่อกันเป็นเวลา 12สัปดาห์ ๆ ละ 3วัน ช่วงอบอุ่นร่างกาย
       2. กลุ่มประชากรเป็นนิสิตหญิง  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาสาสมัครจำนวน   63  คน ซึ่งมีสุขภาพดี อายุระหว่าง  18-22  ปี
       3. ศึกษาการใช้พลังงานของร่างกายขณะเต้นแอโรบิกมวยไทยและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด  จากโปรแกรม การเต้นแอโรบิกมวยไทยทั้ง 3  โปรแกรม ที่มีความหนักของงานระหว่าง 55-65%  66-75 % และ 76-85 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรอง

ตัวแปรที่ศึกษา
        
         1. ตัวแปรอิสระ (Independent  Variadles) มี 3 ตัว คือโปรแกรมการเต้นแอโรบิกมวยไทย 3 โปรแกรม ที่มีความหนักของงานระหว่าง  55-65%  66-75 % และ 76-85 %  ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรอง
          2. ตัวแปรตาม(Dependent Variables) มี 2 ตัว  คือ  ปริมาณการใช้พลังงานขณะเต้นแอโรบิคมวยไทยและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด  ที่มีความหนักของงานระหว่าง 55-65%  66-75 % และ 76-85 %  ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรอง

กลุ่มตัวอย่าง
      
               นิสิตหญิงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีสุขภาพดีอาสาสมัครเข้าร่วมการทดลองจำนวน 63  คน อายุ  18-22 ปีและผู้วิจัยใช้เกณฑ์การแบ่งกลุ่มโยเรียงลำดับค่าจากการทดสอบสมรรถภาพการใช้ออกสิเจนสูงสุดแล้วสุ่มเข้ากลุ่มโดยการจับสลาก  กลุ่มทดลองจะคล้ายคลึงกันมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน  3  กลุ่มๆละ 21 คน  รวมทั้งหมด 63 คน  มีการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มของสมรรถภาพการใช้ออกสิเจนสูงสุดโดยทดสอบค่า" เอฟ " (F-TEST) พบว่าทั้ง 3  กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     

เครื่องมือในการวิจัย
    
           เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโปรแกรมการเต้นแอโรบิคมวยไทย
          
             โปรแกรมที่ 1 (ความหนักของงานระหว่าง 55 -65 % HRR)  กำหนดความหนักของการเต้นแอโรบิคมวยไทย ระหว่าง  55 -65 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรองโดยใช้การเคลื่อนไหวชนิดที่ไม่มีแรงกระแทก (Non impact) คือขณะเคลื่อนไหวเท้าทั้งสองข้างติดอยู่พื้น
           โปรแกรมที่ 2    (ความหนักของงานระหว่าง 65 -75 % HRR)  กำหนดความหนักของการเต้นแอโรบิคมวยไทย ระหว่าง  65 -75 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรอง   โดยใช้การเคลื่อนไหวชนิดที่มีแรงกระแทกผสม (Multi impact) คือการผสมผสานการเคลื่อนไหวชนิดมีแรงกระแทกสูงและแรงกระแทกต่ำ
            โปรแกรมที่ 3  (ความหนักของงานระหว่าง 76 -85 % HRR)  กำหนดความหนักของการเต้นแอโรบิคมวยไทย ระหว่าง  76 -85 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรอง  โดยใช้การเคลื่อนไหวชนิดที่มีแรงกระแทกสูง (High  impact) เป็นส่วนมาก  อาจมีการผสมผสานการเคลื่อนไหวชนิดมีแรงกระแทกต่ำและแรงกระแทกสูง(Multi impact)
การเก็บรวบรวมข้อมูล

       การเก็บรวบรวมข้อมูล  การใช้พลังงานหลังหลักการทดลอง  2  สัปดาห์  หลังการทดลอง  7  สัปดาห์  และหลังการทดลอง  12  สัปดาห์  และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด  ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง  7  สัปดาห์  และหลังการทดลอง  12  สัปดาห์  เหมือนกันทั้ง  3  กลุ่ม

        1. น้ำหนักร่างกาย                                 หน่วยที่วัดเป็น   กิโลกรัม
        2. ส่วนสูง                                                หน่วยที่วัดเป็น   เซ็นติเมตร
        3. อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก     หน่วยที่วัดเป็น    ครั้ง / นาที
        4.สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด  เดินบนลู่กลโดยใช้ "Modified Bruce  treadmill  protocol" และวัดสมรรถภาพการไหลเวียนเลือดและการหายใจ (Portable Cardiopulmonary  exercise  system) มีหน่วยวัดเป็น มิลลิลิตร / กิโลกรัมกรัม / นาที


การวิเคราะห์ข้อมูล

           นำข้อมูลที่เก็บมาได้จากกลุ่มตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป เอส พี เอส  เอส  รุ่น  11.5  โดยหาค่าต่างๆ ดังนี้
          1. หาค่ามัชฌิมเลขคณิต  และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานของปริมาณการใช้พลังงานหลังการทดลอง  2  สัปดาห์  หลังการทดลอง  7  สัปดาห์  และหลังการทดลอง  12  สัปดาห์  และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดในการเต้นแอโรบิคมวยไทย  ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง  7  สัปดาห์  และหลังการทดลอง  12  สัปดาห์  ทั้ง 3  กลุ่ม
          2. ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มของการใช้พลังงาน  หลังการทดลอง  2  สัปดาห์  หลังการทดลอง  7  สัปดาห์ และหลังการทดลอง  12  สัปดาห์
          3. วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำของค่าเฉลี่ยของการใช้พลังงาน หลังการทดลอง  2 สัปดาห์     หลังการทดลอง  7  สัปดาห์ และหลังการทดลอง  12  สัปดาห์และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดภายในกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิคบิกมวยไทย  ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง   7  สัปดาห์  และหลังการทดลอง  12  สัปดาห์  ทั้ง 3  กลุ่ม 

          4.  ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ตอบคำถามงานวิจัย

1.หลักการและขั้นตอนในการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร

                     สื่อและเทคโนโลยีที่ใช้ในการศึกษาและวิจัยครั้งนี้ เป็นการออกกำลังกายที่นำเอาวัฒนธรรม ไทยและเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทยและศิลปะมวยไทยมาผสมผสานกับการออกกำลังกาย และพัฒนามาเป็นทางเลือกหนึ่งของการ ออกกำลังกายได้ทุกเพศทุกวัย ผู้วิจัยจึงพัฒนารูปแบบของการออกกำลังกายที่ผสมผสานระหว่างการเต้นแอโรบิกกับศิลปะมวยไทยโดยการสร้างรูปแบบเพื่อสะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้ในการออกกำลังกายแล้วยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยให้ดำรงสืบไป ในนาม แอโรบิกมวยไทย” (Muay Thai aerobic)ในการออกกำลังการเป็น 3  รูปแบบในความหนักของงานที่แตกต่างกัน

2 มีหลักการประเมินสู่เทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร
                          
              การประเมินโปรแกรมการออกกำลังกายจะต้องทราบถึงระดับของสมรรถภาพของผู้ฝึกควรเลือกฝึกการเต้นแอโรบิกตามโปรแกรมที่เหมาะสมกับสมรรถภาพทางกาย โดยเลือกฝึกที่ความหนักของงานน้อยก่อน และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อร่างกายมีความแข็งแรงมากขึ้น การเต้นแอโรบิกมวยไทยที่เป็นท่าชุด เป็นท่าที่ง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถนำไปฝึกฝนได้ด้วยตนเอง และผลจากการฝึกนี้ทำให้ผู้ฝึกเกิดทักษะทางมวยไทยด้วย

3. ผลการนำเอาสื่อและเทคโนโลยีการศึกษามาใช้อย่างไร

                      จากการศึกษาวิจัย  ผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า เอฟ” (F-test) นำข้อมูลหลังการทดลองทั้ง 3 กลุ่มมาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way analysis of variance with repeated measures) ของค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม และเปรียบเทียบความแปรปรวนแบบทางเดียวระหว่างกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกมวยไทย เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีของแอลเอสดี (LSD) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมการเต้นแอโรบิกมวยไทย ทั้ง 3 โปรแกรมที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน (55-65%,66-76%และ76-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรอง) สามารถพัฒนาให้เป็นการเต้นแอโรบิกที่ทำให้เกิดการใช้พลังงานและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดได้ ซึ่งโปรแกรมการเต้นแอโรบิกมวยไทย ทั้ง 3 โปรแกรมมีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 หมายความว่ามีค่าความตรงดีมาก และมีค่าความเชื่อมั่นจากการทดสอบโปรแกรมการเต้นแอโรบิกมวยไทย ทั้ง 3 โปรแกรมที่มีระยะห่างกัน 1 สัปดาห์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกมวยไทยทั้ง 3 โปรแกรม หลังการทดลอง 2 สัปดาห์ หลังการทดลอง 7 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ มีการพัฒนาการใช้พลังงาน 50 นาที และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 7 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกมวยไทยทั้ง 3 โปรแกรม หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบการใช้พลังงาน 50 นาที ระหว่างกลุ่มที่มีความหนักของงานระหว่าง 55-65% กับ 66-75% และ 55-65% กับ 76-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนความหนักของงานระหว่าง 66-75% กับ 76-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรองมีการใช้พลังงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดทุกกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การฝึกเต้นแอโรบิกมวยไทย ทั้ง 3 โปรแกรมที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน หลังการทดลอง 12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มการใช้พลังงานและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดได้ ควรเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับสมรรถภาพของร่างกาย อย่างไรก็ตามการเต้นแอโรบิกมวยไทยที่มีความหนักของงานระหว่าง 66-75% ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรอง สามารถเพิ่มการใช้พลังงานมากกว่าจากสัปดาห์ที่ 2 ถึงสิ้นสุดการทดลอง 12 สัปดาห์ และหากต้องการเพิ่มสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดให้มีประสิทธิผลสูงสุด ควรเลือกโปรแกรมที่มีความหนักของงานระหว่าง 76-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรอง

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หนังดีในรอบปีรำลึกถึงแม่พุ่มพวง ดวงจันทร์

อยากให้ทุกคนไปดู ดีจริงๆ
ถ้าใครยังไม่ทราบหรือรู้จักแม่ผึ้งทิพมีประวัติของแม่ผึ้งมาให้อ่านค่ะ
ลองอ่านดูนะ
ชีวิตแม่พุ่มพวง  ดวงจันทร์ (แม่ผึ้ง)

รำพึง จิตรหาญ เกิดที่ บ้านหนองนกเขา ตำบลไพรนกยูง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท[1] โตที่ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นบุตรีของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย เกิดในครอบครัวยากจน เป็นลูกคนที่ 5 ของบ้านในจำนวน 12 คน[2]
สถานภาพครอบครัวเธอจัดอยู่ในขั้นที่ยากจนมาก เธอเรียนที่โรงเรียนบ้านดอนตำลึง แต่ด้วยความที่เธอมีน้องอีก 6 คน ประกอบกับค่านิยมของแม่นั้นเห็นว่าผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเรียนมา เธอไม่จบแม้แต่ชั้น ป.2 ในวัยเด็กพอน้องหลับหมด เธอไปหาของขาย เก็บผัก หาดอกไม้ป่า หาบไปขายตามโรงงาน[3]

เส้นทางนักร้อง

รำพึง ชื่นชอบการร้องเพลงลูกทุ่งตั้งแต่เด็ก ถึงแม้ว่าเธอจะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็มีความจำดีเยี่ยม เธอเริ่มหัดร้องเพลงและเข้าประกวดตามงานต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ 8 ปี โดยใช้ชื่อว่า น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย[4] เธอเข้าประกวดล่ารางวัลไปทั่ว ตั้งแต่อำเภอศรีประจันต์ บางปลาม้า แล้วข้ามจังหวัดไปถึงอำเภอเสนา ผักไห่ มหาราช วิเศษชัยชาญ บ้านแพรก หนองโดน พระพุทธบาท สระบุรี และต่อมาอยู่กับวงดนตรีที่กรุงเทพฯ กับ ดวง อนุชา ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ แต่ยังไม่ได้เป็นนักร้องอาชีพก็กลับบ้านอำเภอสองพี่น้อง
ในปี พ.ศ. 2518 เมื่ออายุได้ 15 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ นำวงดนตรีมาแสดงที่วัดทับกระดาน เธอได้ร่วมร้องเพลงและแสดงความสามารถจนไวพจน์เห็นความสามารถ เกิดความเมตตา จึงรับเป็นบุตรบุญธรรมและพาไปอยู่กรุงเทพฯ เริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นหางเครื่องและนักร้องพลาง ๆ ก่อนที่ไวพจน์ จะแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลง แก้วรอพี่ เพลงแต่งแก้กับเพลง "แก้วจ๋า" โดยใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ ซึ่งจากการอยู่ในวงดนตรีไวพจน์ เพชรสุพรรณ ทำให้เธอสนิทสนมกับธีระพล แสนสุข ทำให้ต้องแยกออกจากวงดนตรีไวพจน์ เพชรสุพรรณ มาเริ่มงานกับศรเพชร ศรสุพรรณ โดยทำงานเป็นทั้งหางเครื่องและนักร้องในวง และย้ายมาอยู่กับขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด

ความสำเร็จและรางวัล

ในปี พ.ศ. 2519 ครูเพลงลูกทุ่งชื่อดัง มนต์ เมืองเหนือ รับเป็นลูกศิษย์ และเปลี่ยนชื่อจากน้ำผึ้ง เมืองสุพรรณเป็น "พุ่มพวง ดวงจันทร์" จากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือ และได้บันทึกเสียงจากการแต่งของก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ขวัญชัย เพลงนั้นคือ "รักไม่อันตรายและรำพึง" และตั้งวงดนตรีเป็นของตนเอง โดยการสนับสนุนของคารม คมคาย นักจัดรายการวิทยุ มนต์ เมืองเหนือแต่ไม่ประสบความสำเร็จก็มาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียงผลงานของพุ่มพวง ดวงจันทร์เริ่มประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาหลังจากได้รับการสนับสนุนจากประจวบ จำปาทองและปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ให้ตั้งวงร่วมกับเสรี รุ่งสว่าง ในชื่อวง เสรี-พุ่มพวง จากจุดนี้ก็ได้รับความสำเร็จขึ้นพุ่มพวง
พ.ศ. 2521 พุ่มพวงได้รับรางวัลพระราชทานเสาอากาศทองคำพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จากเพลง “อกสาวเหนือสะอื้น” นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้ร้องเพลง "ส้มตำ" พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
พุ่มพวง ดวงจันทร์ เข้ามาอยู่สังกัดอโซน่า โปรโมชั่น ในปี พ.ศ. 2525 ผลงานในระหว่างปี 2525-2535 ของเธอมีมากมายอย่างเช่น จะให้รอ พ.ศ.ไหน (มิ.ย. 2525) สาวนาสั่งแฟน (2526) นัดพบหน้าอำเภอ (2526) ทิ้งนาลืมทุ่ง (2527) คนดังลืมหลังควาย (2528) อื้อฮื้อ ! หล่อจัง (2528) ห่างหน่อย – ถอยนิด (2529) ชั่วเจ็ดที-ดีเจ็ดหน (2529) เรื่องของสัตว์โลก (2529) และ คิดถึงน้องบ้างนะ (2530) ซึ่งสามชุดหลังเป็นชุดที่ออกหลังที่พุ่มพวงออกจากค่ายอโซน่า โปรโมชั่นแล้ว
ต่อมาย้ายมาอยู่กับพีดี โปรโมชั่น และ ซีบีเอส เร็คคอร์ด (ประเทศไทย) และอาจารย์ไพจิตร ศุภวารีได้เปลี่ยนภาพลักษณ์พุ่มดวงให้เข้ากระแสนิยมของเพลงสตริงในยุคนั้น แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับของนักฟังเพลงลูกทุ่ง จึงได้ย้ายไปทำงานร่วมกับท็อปไลน์มิวสิค มีผลงานเพลงที่ได้รับความนิยมมากมาย ผลงานที่ได้รับความนิยมอย่างเช่นชุด ตั๊กแตนผูกโบว์, กล่อม และ ทีเด็ดพุ่มพวง ผลงานกับค่ายท็อปไลน์มิวสิคอื่น ๆ เช่น หนูไม่รู้, หนูไม่เอา, พี่ไปดู หนูไปด้วย และนำผลงานเก่ามามิกซ์รวมกัน เช่น พุ่มพวงหลาย พ.ศ. (ตลับทอง และตลับเพชร), ขอให้รวย, น้ำผึ้งเดือนห้า, ซูเปอร์ฮิต 1 และ 2 จากนั้นเธอเริ่มรับจ้างทำงานให้กับอาร์เอส โปรโมชั่น เมโทรเทปและแผ่นเสียง และแฟนตาซี ไฮคลาส สำหรับผลงานกับค่ายอาร์เอส เช่น ลูกทุ่งท็อปฮิตมาตรฐาน เป็นผลงานอัลบั้มที่เธอนำเพลงดังของศิลปินลูกทุ่งดังในอดีตมาร้องใหม่ นอกจากนี้ยังมีค่ายเมโทรฯ ที่ได้ลิขสิทธิ์งานเพลงชุด "ส่วนเกิน" อีก 1 ชุด[5]
พุ่มพวง ดวงจันทร์ กับผลงานแสดงภาพยนตร์
พุ่มพวงเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2526 และแสดงหนังเรื่องแรก สงครามเพลง สร้างโดยฉลอง ภักดีวิจิตร และอีกหลายเรื่อง ในช่วงที่แสดงภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักนักเพลง ได้พบกับ (ไกรสร แสงอนันต์) ผลงานการแสดงของเธอในฐานะนางเอก อย่างเช่น สงครามเพลง, รอยไม้เรียว, ผ่าโลกบันเทิง, นักร้อง นักเลง, นางสาวกะทิสด, มนต์รักนักเพลง, ลูกสาวคนใหม่, อีแต๋น ไอเลิฟยู, หลงเสียงนาง, จงอางผงาด, ขอโทษทีที่รัก, คุณนาย ป.4, อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง, สาวนาสั่งแฟน, เสน่ห์นักร้อง, นางสาวยี่ส่าย (ภาพยนตร์โทรทัศน์) เป็นต้น[5]
ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2532 พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอีกครั้ง ในสาขารางวัลขับร้องเพลงดีเด่น กับเพลง "สยามเมืองยิ้ม" ประพันธ์โดยครูลพ บุรีรัตน์ ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง ภาค 2[4]

ลาลับ

13 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า พุ่มพวงทะเลาะกับสามี และป่วยเป็นโรคไตขั้นรุนแรง จนต้องเข้าโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่ไม่สามารถเบิกเงินจากธนาคารเพื่อมารักษาตัวเองได้ (ซึ่งมีอยู่ 6 ล้านบาท) สมุดบัญชีอยู่กับไกรสร (สามี) ที่เชียงใหม่ เธอจึงตัดสินใจสั่งอายัติเงินทั้งหมด ต่อมา 20 มีนาคม เธอเดินทางจากเชียงใหม่ เข้ารักษาตัวเองที่โรงพยาบาลตากสิน จันทบุรี และย้ายไปที่โรงพยาบาลศิริราช แพทย์ตรวจพบว่าเธอป่วยด้วยโรคเอสแอลอีหรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาการขั้นรุนแรง ลุกลามถึงไต ทางด้านไกรสรออกมายอมรับว่ามีปัญหาครอบครัวจริง ต่อมา 3 เมษายน แพทย์เจ้าของไข้เปิดเผยว่าพุ่มพวงอาการดีขึ้น ทางด้านญาติของพุ่มพวงมีความเห็นว่าควรรักษาด้วยไสยศาสตร์ เนื่องจากเชื่อว่าถูกปองร้ายด้วยไสยศาสตร์ด้วยวิธีการคุณไสย ต่อมาวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เดินทางออกจากโรงพยาบาลศิริราชเพื่อไปรักษาด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ ไปจังหวัดพิษณุโลกโดยเดินทางด้วยรถตู้ แต่หลังจากกราบไหว้พระพุทธชินราช เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ก็เกิดอาการช็อคและหมดสติ ญาตินำส่งโรงพยาบาลพุทธชินราช กระทั่งถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อเวลา 20.55 น.
ได้สวดอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยาราม พิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการจัดงานรำลึกถึงพุ่มพวงทุกปี ช่วง 13-15 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ

ชีวิตส่วนตัว

แฟนคนแรกของพุ่มพวงคือ ธีระพล แสนสุข ระหว่างที่พุ่มพวง ดวงจันทร์ เทใจทุ่มกับงานอย่างเต็มที่ ธีระพลเริ่มปันใจให้กับสลักจิต ดวงจันทร์ จึงทำให้ความรักของทั้งคู่จบลง แต่ด้านธุรกิจยังคงร่วมงานกันอยู่ แต่ในปี 2530 ธีระพล แสนสุข ก็ถูกน้องชายพุ่มพวง ดวงจันทร์ ยิงตาย
ในปี พ.ศ. 2527 พุ่มพวงจดทะเบียนสมรสกับนายไกรสร ลีละเมฆินทร์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ ที่ใช้ชื่อในวงการว่า ไกรสร แสงอนันต์ ต่อมาพุ่มพวงฝึกหัดเขียนหนังสือจนสามารถเขียนชื่อตัวเองได้ เพื่อประโยชน์ทางนิติกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2530 มีบุตรชายชื่อ สันติภาพ (ต่อมาเปลี่ยนชือเป็น สรภพ) หรือ "เพชร" หรือ "บ่อยบ๊อย" ลีละเมฆินทร์[2] ซึ่งก็เป็นนักร้องลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังมี จันทร์จวง ดวงจันทร์ ดวงใจ ดวงจันทร์ และสลักจิต ดวงจันทร์ น้องสาวพุ่มพวงก็เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเช่นกัน[6]

สิ่งสืบเนื่องและการรำลึกถึง

อัลบั้มเพลง

เดือนมิถุนายน 2535 หลังจากที่พุ่มพวงเสียชีวิต ค่ายท็อปไลน์และค่ายอโซน่า ก็นำเอาเพลงชุดต่างๆ ของพุ่มพวงออกวางจำหน่ายอีกครั้ง ท็อปไลน์ได้มีการทำปกขึ้นมาใหม่อีก คือ คิดถึงพุ่มพวง, ส้มตำ, คอนเสิร์ต โลกดนตรี โดยชุด ส้มตำ จัดสร้างขึ้นโดยคณะกรรมการจัดงานพระราชทาน เพลิงศพฯ มีคำบรรยายเกียรติประวัติพุ่มพวง และเพลงอย่าง ส้มตำ, กล่อม, ฉลองวันเศร้า, รักคุด, แล้วจะทนเพื่ออะไร, ของขวัญที่ฉันคืนเธอ, หัวใจทศกัณฐ์, เขานอนบ้านใน, หนูไม่รู้, แฟนพุ่มพวง เป็นต้น[5]
ผลงานอัลบั้มเพลงที่วางจำหน่ายเพื่อระลึกถึงพุ่มพวงเช่น คิดถึงพุ่มพวงและโลกของผึ้ง และยังมีเทปที่ทำเพื่อระลึกถึงการเสียชีวิตอย่างเช่น แหล่ประวัติพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยไวพจน์ เพชรสุพรรณ หนึ่งในดวงใจผลงานของยุ้ย โดยยุ้ย ญาติเยอะ (จริยา ปรีดากูล) เหลือแต่ดวงจันทร์ ที่ครูลพ บุรีรัตน์แต่งให้พุ่มพวง
งานเพลงของศิลปินที่นำเพลงของพุ่มพวงมาขับร้องใหม่โดยเฉพาะนักร้องปัจจุบัน มีความแตกต่างกันด้วยจังหวะและระยะเวลาที่ต่างกันไป แกรมมีโกลด์นำผลงานของพุ่มพวงโดยเฉพาะทีประพันธ์โดยลพ บุรีรัตน์ ออกมาอยู่เรื่อยๆ มียอดขายประสบความสำเร็จอย่างดี มีผลงานออกมาอย่าง พุ่มพวง ในดวงใจ ชุดที่ 1 – 4 โดย ใหม่ เจริญปุระ , อัลบั้ม เพชร สรภพ - เพลงของแม่ ชุดที่ 1 (ชุดเดียว) กับเพลงเปิดตัว "โลกของ ผึ้ง" โดยดัดแปลงเนื้อร้องบางส่วนให้เหมาะสมกับการถ่ายทอดบทเพลง[7] อัลบั้ม ดวงจันทร์ ... กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยมีศิลปินนักร้องลูกทุ่งสาวนำเพลงมาทำใหม่ ได้แก่ สุนารี ราชสีมา (เขานอนบ้านใน, นอนฟังเครื่องไฟ, ฉันเปล่านา เขามาเอง), คัฑลียา มารศรี (สาวนาสั่งแฟน, อายแสงนีออน, หัวใจทศกัณฐ์), ฝน ธนสุนทร (สุดแค้นแสนรัก, คิดถีงบ้างเน้อ, ขอให้โสดทีเถอะ), แมงปอ ชลธิชา (รักคุด, เงินน่ะมีไหม, อื้อฮือหล่อจัง) , หลิว อาจารียา (กระแซะ, หนูไม่รู้, ผู้ชายในฝัน), เอิร์น เดอะสตาร์ (พี่ไปดู หนูไปด้วย, นัดพบหน้าอำเภอ, โลกของผึ้ง), ต่าย อรทัย (แก้วรอพี่, นักร้องบ้านนอก, คืนนี้เมื่อปีกลาย) และตั๊กแตน ชลดา (ดาวเรืองดาวโรย, ตั๊กแตนผูกโบว์, อนิจจาทิงเจอร์) นอกจากนี้ทรูแฟนเทเชีย มีผลงานชุด 7 สาวสะบัดโชว์ ก็มีเพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ คือ ผู้ชายในฝัน, อื้อฮือหล่อจัง อยู่ในอัลบั้มนี้

ภาพยนตร์และละคร

ในปี พ.ศ. 2535 มีภาพยนตร์รำลึกถึงพุ่มพวง ดวงจันทร์กับเรื่อง บันทึกรักพุ่มพวง กำกับโดยดอกฟ้า ได้พุ่มพวง แจ่มจันทร์ แสดงเป็นพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยเป็นภาพยนตร์ที่เล่าชีวิตส่วนหนึ่งของชีวิตเธอ[8] ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 บริษัท เจเอสแอลจำกัดได้ทำละครโทรทัศน์เรื่อง ราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์ ออกอากาศทางช่อง 7 ดัดแปลงจากชีวิตจริง ของพุ่มพวง ดวงจันทร์นำแสดงโดย รชนีกร พันธุ์มณี วรวุฒิ นิยมทรัพย์ ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ [9] โดยต้อม รัชนีกรได้รับการเข้าชื่อเพื่อชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำในฐานะดารานำฝ่ายหญิงดีเด่น
ในปี พ.ศ. 2554 สหมงคลฟิล์ม ได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง พุ่มพวง โดยนำเค้าโครงจากชีวิตจริงของพุ่มพวง ดวงจันทร์และหนังสือเรื่อง "ดวงจันทร์ที่จากไป" ของ บินหลา สันกาลาคีรี กำกับโดย บัณฑิต ทองดี นำแสดงโดย เปาวลี พรพิมล แสดงเป็นพุ่มพวง ดวงจันทร์ ร่วมด้วย ณัฐวุฒิ สกิดใจ, วิทยา เจตะภัย, บุญโทน คนหนุ่ม

สื่อสิงพิมพ์

ส่วนสื่อสิงพิมพ์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ เคยนำเสนอแฟชั่นหน้าคู่กลาง ราวปี 2538 เดือนมิถุนายน กับแนวความคิด “ชีวิตพุ่มพวง ดวงจันทร์” ใช้ “งานรำลึกพุ่มพวง ดวงจันทร์” มาเป็นฉากหลังของแฟชั่น มีนางแบบคือ ยุ้ย ญาติเยอะ ที่มีหน้าตาละม้ายพุ่มพวงและยังถือเป็นเงาเสียงของพุ่มพวงในสมัยประกวดคอนเสิร์ตคอนเทสต์ โดยจำลองชีวิตของพุ่มพวงตั้งแต่การออกจากโรงเรียนเพื่อทำงาน การเป็นสาวไร่อ้อย จนถึงนักร้อง โดยมีการใช้ภาพจริงประกอบ[10]

หุ่นพุ่มพวง

สำหรับหุ่นเหมือนพุ่มพวง ดวงจันทร์ ปัจจุบันมีอยู่ 7 หุ่น อยู่ที่วัดทับกระดาน 6 หุ่น ได้แก่ หุ่นที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณสระกลางน้ำ แต่งกายชุดสีดำ เป็นหุ่นอภินิหาริย์ที่สร้างขึ้นหลังพระราชทานเพลิงศพ หุ่นที่ 2 อยู่ในตู้กระจก ยุ้ย ญาติเยอะ เป็นผู้สร้างไว้บูชาครูเพลงพุ่มพวง หุ่นที่ 3 สร้างโดยนายณรงค์ รอดเจริญ อดีตบรรณาธิการ เป็นหุ่นแก้บน ทำด้วยขี้ผึ้งแข็ง หุ่นที่ 4 เป็นสีชมพู สร้างขึ้นจากแฟนเพลง ที่เป็นหุ่นปลดนี้ รุ่นนางพญาเสือดาว หุ่นที่ 5 อยู่ในชุดเสวนาธรรม สร้างโดยญาติและกรรมการวัด หุ่นที่ 6 เป็นหุ่นสีทอง สร้างขึ้นโดยใหม่ เจริญปุระ สร้างขึ้นเพื่อบูชาครูเพลง[11] หุ่นพุ่มพวงที่วัดทับกระดานนั้น ยังมีชื่อเสียงเรื่องมีผู้นิยมมาขอหวยอย่างมากมาย[12] ส่วนหุ่นเหมือนพุ่มพวงตัวที่เจ็ดนั้น เป็นหุ่นชุดเสือดาว สร้างโดยพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ เพื่อจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์สาขากรุงเทพ ชั้น 6 และ 7 สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ โดยพิพิธภัณฑ์มีกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ธันวาคม 2553 หุ่นเหมือนพุ่มพวงตัวนี้เป็นตัวแรกที่ผู้สร้างส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ และเป็นหุ่นตัวแรกที่ไม่ได้ตั้ง ณ วัดทับกระดาน[ต้องการอ้างอิง]
วันที่ 15 ส.ค.2552 กระทรวงวัฒนธรรม โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคัดเลือกปริยศิลปิน และปรมศิลปิน มีมติประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ นายสุรพล สมบัติเจริญ และ พุ่มพวง ดวงจันทร์ หรือรำพึง จิตรหาญ เป็น "ปริยศิลปิน" ศิลปินอันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน โดยวันที่16 ส.ค. ซึ่งตรงกับวันเสียชีวิตของนายสุรพล สวช.จะมีพิธีมอบรางวัลยกย่องอย่างเป็นทางการให้แก่ครอบครัวสมบัติเจริญ ที่ศูนย์การค้าอินเดีย เอ็มโพเรียม กรุงเทพฯ หรือ ATM พาหุรัดเดิม ส่วนครอบครัวของพุ่มพวง ดวงจันทร์นั้น สวช.จะจัดพิธีมอบรางวัลยกย่องอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ส.ค.2552

ขอแรงใจช่วยกันเชียร์นะค่ะ

สวัสดีจ้าพี่น้องชาวSWUทั้งหลายวันนี้พรทิพย์สิ่งมานำเสนออยากให้เพื่อนพี่น้องช่วยกันส่งแรงใจแรงเชียร์ร่วมกับพรทิพย์ทีมฟุตบอลในหัวใจ(อิอิอิ)

ฮั่นแน่รู้นะว่าก่อนที่จะส่งกำลังใจอยากจะเห็นหน้าคาดตานักเตะก่อนไม่ต้องกังวลวันนี้พรทิพย์มีประมวลภาพงานแถลงข่าวและเปิดตัวนักเตะหน้าใหม่ของทีมด้วยเชิญชมจ้า



        

โปรแกรมการแข่งขันของสโมสรฟุตบอล เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี เลก 2
วันที่
โปรแกรม
เวลา
สนาม
30 ก.ค. 54
ชัยนาท เอฟซี VS เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี
18.00 น.
กีฬากลาง จ.ชัยนาท
7 ส.ค. 54
เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี VS สุพรรณบุรี เอฟซี
16.00 น.
ธูปะเตมีย์
13 ส.ค. 54
เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี VS เอฟซี ภูเก็ต
16.00 น.
ธูปะเตมีย์
21 ส.ค. 54
เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี VS บีบีซียู เอฟซี
16.00 น.
ธูปะเตมีย์
10 ก.ย. 54
ราชประชา ไทยแลนด์ เอฟซี VS เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี
16.00 น.
ม.มหิดล ศาลายา
18 ก.ย. 54
อาร์แบค เอฟซี VS เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี
16.00 น.
ม.รัตนบัณฑิต
21 ก.ย. 54
เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี VS แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด
16.00 น.
ธูปะเตมีย์
24 ก.ย. 54
เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี VS แบงค็อก ยูไนเต็ด
16.00 น.
ธูปะเตมีย์
2 ต.ค. 54
สงขลา เอฟซี VS เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี
18.00 น.
ติณสูลานนท์
16 ต.ค. 54
เจ.ดับบลิว. เอฟซี รังสิต เอฟซี VS บางกอก เอฟซี
16.00 น.
ธูปะเตมีย์
22 ต.ค. 54
ปตท.ระยอง VS เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี
18.00 น.
มาบข่า จ.ระยอง
30 ต.ค. 54
เชียงใหม่ เอฟซี VS เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี
18.00 น.
กีฬากลาง จ.เชียงใหม่
27 พ.ย. 54
ไทย - ฮอนด้า VS เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี
16.00 น.
เฉลิมพระเกียรติ 72 ปี มีนบุรี
4 ธ.ค. 54
เจ0ดับบลิว. รังสิต เอฟซี VS สมุทรปราการ ศุลกากร
16.00 น.
ธูปะเตมีย์
10 ธ.ค. 54
สระบุรี เอฟซี VS เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี
18.00 น.
อบจ.สระบุรี
18 ธ.ค. 54
เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี VS แคชทูเดย์ จันทบุรี
16.00 น.
ธูปะเตมีย์
24 ธ.ค. 54
บุรีรัมย์ เอฟซี VS เจ.ดับบลิว. รังสิต เอฟซี
15.30 น.
ไอ โมบาย สเตเดียม